ผู้มีสิทธิ์เป็นเจ้าภาพกฐิน ผู้มีสิทธิ์เป็นเจ้าภาพกฐิน ได้แก่ : เทวดา พระภิกษุ พระภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขามานา อุบาสก อุบาสิกา การจองกฐิน : เจ้าภาพผู้ปรารถนาจะจองกฐินวัดใดวัดหนึ่งนมัสการกราบเรียนเจ้าอาวาสว่า ตนมีศรัทธาจะทอดกฐินวัดนี้ เมื่อท่านอนุญาตแล้ว เขียนหนังสือประกาศไว้ให้รู้ทั่วกัน กฐิน กับวิหารทานอื่นๆ ต้องแจ้งประกาศแยกกันต่างหาก อนึ่ง หากเจ้าอาวาสหรือคณะสงฆ์ต้องการเงินมากกว่ากฐิน กฐินนั้นเป็นอันเดาะ ไม่เป็น กฐิน เป็นเพียงสังฆทาน ไม่ได้อานิสงส์กฐิน ถ้ามีผู้ร่วมบุญเครื่องกฐินสามารถเป็นไปได้ หรือปัจจัยเกี่ยวกับวิหารทานก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ไม่เกี่ยวกับกฐิน ปัจจุบัน "กฐิน" ก็เพี้ยนไปจากพระธรรมวินัย ภิกษุองค์ครองผ้ากฐินตัดเย็บจีวรไม่เป็น ละเมิดสิกขาบทเป็นอันตรายและเป็นภัยร้ายแรงต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง อาทิ กะถิลทองคำ กะถิลเงิน กะถิลสร้างโรงเรียน กะถิลสร้างโรงพยาบาล กะถิลสร้างโบสถ์ วิหารศาลาการเปรียญ หอฉัน หอระฆัง เมรุ โรงครัว กะถิลห้องสุขา สระน้ำ สวนดอกไม้ ฯลฯ กะถิลซื้อที่ กะถิลมีของแลกเปลี่ยน กะถิลฉลองหนัง ลิเก ดนตรี หมอรำ รำวง กะถิลครึกครื้น กะถิลแก้บน กะถิลซื้อรถยนต์ กะถิลลวง กะถิลหลอก กะถิลฉ้อฉล กะถิลกล กะถิลสุรา กะถิลสาโท กะถิลอุ กะถิลขันโตก กะถิลลูกเต๋า กะถิลเล่นแร่แปรธาตุ กะถิลปลุกเสกเครื่องลางของขลัง กะถิลลงเลขสักยันต์อาคมกล้า กะถิลเจ้าอาวาส กะถิลห้าร้อย(กอง) กะถิลเป็นสาย (มุ่งหมายเป็นเงิน) กะถิลสำรวม กะถิลละเมิดพระธรรมวินัย กะถิลนอกบรมพุทธานุญาต กะถิลโมฆบุรุษ กะถิลเดียรถีย์ กะถิลปาราชิก กะถิลสังฆาทิเสส ตลอดจน กะถิลใส่รองเท้าเข้าโบสถ์ ฯลฯ พระภิกษุในวัดตั้งป้ายโฆษณาหากะถิล กะถิลดอกเห็ดทั้งหลาย ล้วนเป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ใช่กฐินที่แท้จริงตามพระธรรมวินัย เป็นต้น เช่นเดียวกัน "ผ้าป่า" ก็เพี้ยนไปจากพระธรรมวินัย ในพระไตรปิฎก ไม่มีคำว่า "ผ้าป่า" แต่จะมีคำว่า "ผ้าจากป่า" คือผ้าที่พระภิกษุไปหามาจากป่า เพื่อนำมาทำจีวร หรือ "ผ้าบังสกุล" คือผ้าที่พระภิกษุเก็บมาจากซากศพ จากกองขยะ ผ้าที่เขาทิ้งแล้วตามตลาด เพื่อนำมาทำจีวร ไม่ใช่ผ้าสบง ผ้าจีวร ผ้าสังฆาฏิ หรือผ้าเช็ดตัว ฯลฯ ที่นำมาวางไว้ตามวัตถุทานต่างๆ อาราธนาพระภิกษุมาพิจารณาผ้า สมมติว่าพิจารณาผ้าจากป่าแล้วเรียกว่า "ทำบุญทอดผ้าป่า" อย่างในปัจจุบันซึ่งมีการทำบุญทอดผ้าป่า ร้อยแปดพันประการด้วยความเห็นผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ นำไปอบายภูมิ การทำบุญกิริยาวัตถุ ในลักษณะนี้ ควรเรียกว่า "ทำบุญมหาทาน" หรือ "ทำบุญมหากุศล" หรือ "ทำบุญสังฆทาน" พระภิกษุต้องครบองค์สงฆ์ ๔ รูปขึ้นไป แต่ถ้าพระภิกษุ ๑ รูป ต้องเป็นรูปที่ได้รับฉันทานุมัติจากสงฆ์ จึงจะไม่เป็นความเห็นผิด เข้าใจผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิที่จะนำไปอบายภูมิ ถ้าทำบุญถูกพระธรรมวินัย จะเป็น "มหากุศล" นำเก็บ "มหาวิบาก" นำส่งสู่สุคติในภพภูมิต่อไป การถวายกฐิน : เจ้าภาพกฐินไม่สามารถเจาะจงถวายแก่พระภิกษุสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง เพราะเป็นเรื่องของสงฆ์ที่เห็นสมควร แต่ต้องเป็นพระภิกษุ ผู้รู้ธรรม ๘ ประการ มีบุพพกรณ์* (บุพพกรณ์ : รู้จักการซักผ้า กะผ้า ตัดผ้า เนาผ้า เย็บผ้า ย้อมผ้า พินทุกัปปะผ้า) เป็นต้น หากภิกษุองค์ครองผ้ากฐินไม่รู้ธรรม ๘ ประการ อานิสงส์ก็น้อยลงไปตามลำดับ หรือไม่สมควรเป็นผู้รับผ้ากฐิน มีผู้อ่านจำนวน : 15103 ครั้ง