การปฏิบัติอานาปานสติสมาธิ ขั้นตอนทำความสงบจากลมหายใจ ขั้นตอนที่ ๑นั่งในท่าที่สบายที่สุด แล้วทำใจให้สงบโดยระงับความยุ่งยาก ความขัดข้อง ความรัก ความห่วง ความกังวล ความดีใจ ความโกรธ ความเสียใจ ความต้องการ ความสงสัย ฯลฯ ด้วยวิธีการ "ลืมมันเสียชั่วขณะ" หรือถ้าลืมสิ่งต่าง ๆ ไม่ได้ ก็ทำใจเสียใหม่ว่า "เรามีตัวคนเดียวในโลกที่นั่งอยู่ตรงนี้เท่านั้น" แล้วทำใจให้สงบ ไม่ยุ่งยากอีกต่อไปขั้นตอนที่ ๒ใช้ สติ ระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกแต่อย่างเดียว ไม่นึกถึงอะไรทั้งสิ้น บริกรรมภาวนาว่า "พุทธ" เมื่อหายใจเข้า "โธ" เมื่อหายใจออก หรือจะใช้คำอื่นตามความพอใจขั้นตอนที่ ๓เมื่อนั่งไปจนรู้สึกว่าจิตใจไม่วุ่นวายและมีความสงบเกิดขึ้นบ้างเล็กน้อยแล้ว ใช้สติจับอยู่ที่ปลายจมูกตรงจุดลมหายใจเข้าและออกกระทบ อย่าให้ซัดส่ายไปทางใดขั้นตอนที่ ๔เมื่อรู้สึกว่า มีความสงบอันมั่นคงเกิดขึ้นแล้ว ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้๑. ระวังอย่าให้เผลอสติ กำหนดให้สติจับไว้ตรงปลายจมูกให้มั่นคงยิ่งขึ้น๒. ทำลมหายใจให้ละเอียดยิ่งขึ้นกว่าปกติ๓. ปรับอินทรีย์ ให้มีความสม่ำเสมอกันขั้นตอนที่ ๕อินทรีย์ ๕ ที่จะต้องทำการปรับให้มีความสม่ำเสมอกันคือ๑. ศรัทธินทรีย์ คือความเลื่อมใสในการตรัสรู้ หรือความเชื่อในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า๒. วิริยินทรีย์ คือความเพียรชอบ ๔ ประการ ได้แก่ เพียรป้องกันมิให้อกุศลเกิด เพียรละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทำความสงบต่อไป เพียรรักษาความสงบที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่และแก่กล้ายิ่งขึ้น๓. สตินทรีย์ คือการระลึกรู้อารมณ์ ในการทำกัมมัฏฐาน คือ สติ จับอยู่ตรงปลายจมูกที่ลมหายใจเข้า-ออก กระทบ๔. สมาธินทรีย์ คือความตั้งใจมั่น ไม่ซัดส่าย ไปทางอื่นโดยตั้งใจที่จะทำกัมมัฏฐานให้บรรลุผล แม้จะมีอุปสรรคใด ๆ ก็จะไม่ละหรือเลิก๕. ปัญญินทรีย์ คือ ปัญญาที่นำมาใช้ในการประกอบกุศลกรรมที่กำลังทำอยู่ขั้นตอนที่ ๖เมื่อเกิดมีความสงบอันมั่นคง ซึ่งประกอบด้วย องค์ ๕ เกิดขึ้นแล้ว ต้องพิจารณาองค์ประกอบแต่ละตัวคือ๑. วิตกเจตสิก หมายถึง การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือการตรึกนึกคิดในอารมณ์๒. วิจารเจตสิก หมายถึง การพิจารณาอารมณ์ของกัมมัฏฐาน๓. ปีติเจตสิก หมายถึง ความอิ่มเอิบซาบซ่านไปทั่วกาย๔. สุขเวทนาเจตสิก หมายถึง ความสุขกายและสุขใจที่ไม่เคยได้รับมาก่อนในชีวิต๕. เอเกัคคตาเจตสิก หมายถึง การตั้งมั่นไม่ซัดส่ายไปทางใดขั้นตอนที่ ๗ทำความชำนาญ ๕ ประการ ให้เกิดขึ้นคือ๑. ทำความชำนาญในการเข้าสมาธิ๒. ทำความชำนาญในการดำรงอยู่ในสมาธิ ตามระยะเวลาที่กำหนด๓. ทำความชำนาญในการพิจารณา องค์ฌานทั้ง ๕๔. ทำความชำนาญในการออกจากสมาธิ๕. ทำความชำนาญในการกำหนดองค์ฌานให้เกิดขึ้น รูปกัมมัฏฐาน ผู้ทำ อานาปนสติสมาธิ ถึงปัญจมฌาน เต็มที่แล้ว จะทำกสิณ ๑๐ ได้โดยปฏิบัติดังนี้ขั้นตอนที่๑ เข้าดำรงอยู่ใน อานาปนสติสมาธิ ขั้นสูงสุด แล้วละอารมณ์อานาปนสติสมาธิทิ้งเสียขั้นตอนที่๒ กำหนดอารมณ์ของ กสิณ ที่ต้องการทำให้เกิดขึ้นพร้อมด้วยบริกรรมภาวนาขั้นตอนที่๓ ใช้สติกำหนดหรือเพ่งอยู่ที่ บริกรรมนิมิต อย่าไปไหนขั้นตอนที่๔ ปรับ อินทรีย์ ๕ ให้มีความสม่ำเสมอกันขั้นตอนที่๕ ละองค์ฌาน ตัวที่ไม่ต้องการแต่ละขั้นตอน ตามความสูงของสมาธิที่ต้องการขั้นตอนที่๖ เมื่อทำถึงขั้น ปัญจมฌาน แล้วละบริกรรมภาวนาเสีย คงไว้แต่อารมณ์ของกสิณ ที่ทำขั้นตอนที่๗ ฝึกทำความชำนาญ คือวสี ต่อไปจนมีความแก่กล้า อรูปกัมมัฏฐาน ๑. อากาสานัญจายตนฌาน๑.๑ ทำความสงบประเภทกสิณ ถึงปัญจมฌาน๑.๒ ใช้ สติ เพ่งอยู่ที่ นิมิต ปล่อยอารมณ์ของกสิณ กำหนดอารมณ์ใหม่ อากาศบัญญัติ๑.๓ บริกรรมภาวนา อากาโสอนนฺโต (อากาศไม่มีที่สิ้นสุด ๆ ) ๒. วิญญาณัญจายตนฌาน๒.๑ ทำความสงบในขั้น อากาสานัญจายตนฌาน๒.๒ ปล่อยอารมณ์ของ อากาสานัญจายตนฌาน๒.๓ บริกรรมภาวนาว่า วิญญาณํ อนนฺตํ (ตัวนี้รู้ว่าวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดนั้นมาเป็นอารมณ์) ๓. อากิญจัญญายตนฌาน๓.๑ ทำความสงบในขั้น วิญญาณัญจายตนฌาน๓.๒ ปล่อยอารมณ์ของ วิญญาณัญจายตนฌาน๓.๓ บริกรรมภาวนาว่า นตฺถิ กิญฺจิ (นิดหนึ่งก็ไม่มี หน่อยหนึ่งก็ไม่มี) ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน๔.๑ ทำความสงบในขั้น อากิญจัญญายตนฌาน๔.๒ ปล่อยอารมณ์ของ อากิญจัญญายตนฌาน๔.๓ บริกรรมภาวนาว่า เอตํสนฺตํเอตํปณีตํ (สงบหนอ ประณีตหนอ)จากหนังสือคู่มือการปฏิบัติอานาปนสติสมาธิ และกฎแห่งธรรมชาติสำนักพุทธศาสตร์โลกและธรรม ท่านอาจารย์พันตำรวจเอก (พิเศษ) บุญเพ็ญ แขวัฒนะ เป็นเจ้าของสำนัก มีผู้อ่านจำนวน : 30108 ครั้ง