Text Size
Sunday, September 08, 2024
Top Tab Content

005sattam_disappear02


มูลเหตุความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม (๒)

พระไตรปิฎกและ อรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ ๖๓๐ - ๖๓๒

                                    สัทธรรมปฏิรูปกสูตร (ว่าด้วยพระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป)
                          สมัยหนึ่ง    พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่   ณ  พระเชตวัน   อาราม
              ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี  กรุงสาวัตถี  ณ   ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสป 
              เข้า ไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาท  
              แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง   ครั้นท่านพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้วได้
              กราบทูลถามว่า   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   อะไรหนอแล  เป็นเหตุ  เป็นปัจจัย
              ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อยและภิกษุตั้งอยู่ในพระ อรหัตผลมีมาก และอะไร
              เป็นเหตุ  เป็นปัจจัย  ให้บัดนี้สิกขาบทมีมากและภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผล
              มีน้อย

              พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า  :-
              “ ดูก่อนกัสสป  ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ  เมื่อหมู่สัตว์เลวลง   พระสัทธรรมกำลัง
              เลือนหายไป  สิกขาบทจึงมีมากขึ้น  ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า ”
            
                                   “ สัทธรรม ปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้น ในโลกตราบใด  
                                                ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ ยังไม่เลือนหายไป  และ
                                    สัทธรรม ปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด  
                                                เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป
   
                                    ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด  
                                                ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป   และ
                                    เมื่อ ทองเทียมเกิดขึ้น  ทองคำธรรมชาติจึงหายไป
                                                ทองคำธรรมชาติจึงหายไปฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น
  
                                    สัทธรรม ปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด 
                                                 ตราบนั้น พระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป     
                                    เมื่อ สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นเมื่อใด
                                                 เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป.”    
 
                           “ ดูก่อนกัสสป     ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้
               ธาตุน้ำ  ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้
               โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป
               เปรียบเหมือนเรือจะอับปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น   พระสัทธรรมยังไม่  
               เลือนหายไป   ด้วยประการฉะนี้ ”
                 
                          “ ดูก่อนกัสสป      เหตุฝ่ายต่ำ  ๕  ประการเหล่านี้  ย่อมเป็นไป  
               ไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน      เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม  
                            เหตุฝ่ายต่ำ  ๕  ประการเป็นไฉน  คือ  ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก
               อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้   ไม่เคารพยำเกรง
                            ในพระศาสดา  ๑      ในพระธรรม  ๑       ในพระสงฆ์  ๑
                            ในสิกขา  ๑              ในสมาธิ  ๑     
                           เหตุฝ่ายต่ำ  ๕  ประการเหล่านี้แล  ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความ
               ฟั่นเฟือนเพื่อความเลือน หายแห่งพระสัทธรรม ”
                          
                           “ ดูก่อนกัสสป      เหตุ  ๕  ประการเหล่านี้แล    ย่อมเป็นไป
               พร้อมเพื่อความตั้งมั่น   ไม่ฟั่นเฟือน  ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม
                            เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน   คือ  ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา
               ใน ธรรมวินัยนี้    มีความเคารพยำเกรง
                            ในพระศาสดา  ๑      ในพระธรรม  ๑       ในพระสงฆ์  ๑
                            ในสิกขา  ๑              ในสมาธิ  ๑
                            เหตุ  ๕  ประการนี้แล  ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น
               ไม่ฟั่นเฟือน   ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม”
                                จบสัทธรรมปฏิรูปกสูตรที่  ๑๓
                                      จบกัสสปสังยุตที่  ๔
                               
พระไตรปิฎกและ อรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม (เล่มสีน้ำเงิน)
เล่ม ที่ ๓๖ พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๖๓๕

                                    กิมมิลสูตร (ว่าด้วยเหตุให้ศาสนาเสื่อมและเจริญ)
             ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
                         สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ เวฬุวัน  ใกล้พระนครกิมมิลา
             ครั้งนั้น  ท่านพระกิมมิละได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายบังคม
             แล้วนั่ง   ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง      ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า
                         “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  อะไรหนอแล    เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระ
             สัทธรรม   ไม่ดำรงอยู่นานในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว ”  
            
             พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
                         “ ดูก่อนกิมมิละ   เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว  พวกภิกษุ ภิกษุณี  อุบาสก
             อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้   เป็นผู้ไม่เคารพ  ไม่ยำเกรงในพระศาสดา   ในพระธรรม
             ในพระสงฆ์  ในสิกขา  ในความไม่ประมาท  ในปฏิสันถาร   ดูก่อนกิมมิละ
                          ดูก่อนกิมมิละ  นี้ แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรง
              อยู่นาน   ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ”

            กิมมิละได้ทูลถามว่า
                         “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ก็อะไร  เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรม
             ดำรงอยู่ได้นาน  ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว”
          
             พระ ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
                        “ ดูก่อนกิมมิละ   พวกภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้
             เป็นผู้มีความเคารพ   มีความยำเกรงในพระศาสดา  ในพระธรรม  ในพระสงฆ์
             ในสิกขา   ในความไม่ประมาท   ในการปฏิสันถาร 
                          ดูก่อนกิมมิละ   นี้แลเป็นเหตุเป็น   ปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมดำรง
             อยู่ได้นาน  นี้แลเป็นเหตุเป็น  ปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นานใน
             เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ”                                            
                                         จบกิมมิลสูตรที่  ๑๐ 




มีผู้อ่านจำนวน : 3596 ครั้ง


บทความที่เกี่ยวข้อง

            มูลเหตุ ความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม (๑)
            มูลเหตุ ความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม (๒)
            มูลเหตุ ความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม (๓)
backbutton
gototop
back2home_style3 go2contentstore_style03
Bottom Tab Content

Who's Online

We have 3 guests and no members online