Text Size
Wednesday, April 24, 2024
Top Tab Content

005sattam_disappear02


มูลเหตุความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม (๓)

พระไตรปิฎกและ อรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่ ๓๖ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๓๒๓ - ๓๒๘

               ๔. ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตร ว่าด้วยเหตุเสื่อมและเหตุเจริญแห่งศาสนา
                          “ [๑๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้   ย่อมเป็นไปเพื่อ
              ความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน  คือ 
                          ภิกษุในธรรมวินัยนี้ 
                          ไม่ฟังธรรม โดยเคารพ ๑ 
                          ไม่เล่าเรียนธรรม โดยเคารพ ๑ 
                          ไม่ทรงจำธรรม โดยเคารพ ๑ 
                          ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ โดยเคารพ ๑ 
                          รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ ๑   
                          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ
              ความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ”

                          “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น
              ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
                          ภิกษุในธรรมวินัยนี้ 
                          ย่อมฟังธรรมโดยเคารพ  ๑ 
                          เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ  ๑
                          ทรงจำธรรมโดยเคารพ ๑
                          ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดย เคารพ ๑
                          รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ ๑
                          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล    ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น
               ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ”
                                                จบปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๔ 
                                               
               ๕. ทุติยสัทธัมมสัมโมสสูตร   ว่าด้วยเหตุเสื่อมและเหตุไม่เสื่อมแห่งศาสนา
                          “ [๑๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้   ย่อมเป็นไปเพื่อความ
              ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ 
                          ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ 
              คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็น
              ไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม  
                          อีกประการหนึ่ง  ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่
              ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร   นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒  ย่อมเป็นไปเพื่อความลบ  
              เลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม  
                          อีกประการหนึ่ง   ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่บอกธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่   
              ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร   นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓  ย่อมเป็นไปเพื่อความลบ
              เลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม 
                          อีกประการหนึ่ง   ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่ทำการสาธยายธรรม   ตามที่ได้
              ฟังมา  ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร  นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔  ย่อมเป็นไป
              เพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม
                          อีกประการหนึ่ง  ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่ตรึกตรองไม่เพ่งดูด้วยใจ ซึ่งธรรม   
              ตามที่ได้ฟังมา  ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร  นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไป 
              เพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม
                          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน
              เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ”
                                               
                          “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ธรรม ๕ ประการนี้     ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น
              ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ 
                          ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยา- 
              กรณะ  คาถา  อุทาน  อิติวุตตกะ  ชาดก  อัพภูตธรรม เวทัลละ  นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ 
              ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม  
                          อีกประการหนึ่ง  ภิกษุทั้งหลายย่อมแสดงธรรม ตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้
              เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร  นี้เป็นธรรมข้อที่  ๒    ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น
              ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม  
                          อีกประการหนึ่ง   ภิกษุทั้งหลายย่อมบอกธรรม  ตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้   
              เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร  นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓     ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น 
              ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม 
                          อีกประการหนึ่ง  ภิกษุทั้งหลายย่อมทำการสาธยายธรรม  ตามที่ได้ฟังมา
              ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔  ย่อมเป็นไปเพื่อความ
              ตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเลื่อมสูญแห่งสัทธรรม
                          อีกประการหนึ่ง  ภิกษุทั้งหลายย่อมตรึกตรอง เพ่งดูด้วยใจ   ซึ่งธรรมตาม   
              ที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร   นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕   ย่อมเป็นไปเพื่อ 
              ความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม
                          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล      ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น
              ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ”
                                                จบทุติยสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๕

               ๖. ตติยสัทธัมมสัมโมสสูตร  ว่าด้วยเหตุเสื่อมและไม่เสื่อมแห่งศาสนา
                          “ [๑๕๖]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ธรรม ๕ ประการนี้    ย่อมเป็นไปเพื่อความ
              ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม   ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ 
                          ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้   ย่อมเล่าเรียนพระสูตรที่ทรงจำไว้ไม่ดี   ด้วย 
              บทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี  แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี  ย่อมเป็น  
              เนื้อความมีนัยไม่ดี  นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑  ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่ง
              สัทธรรม  
                          อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก  ประกอบด้วยธรรม  กระทำให้  
              เป็นผู้ว่ายาก เป็นผู้ไม่อดทน รับคำพร่ำสอนโดยไม่เคารพ  นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อม  
              เป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม   
                          อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพหูสูต  มีการเล่าเรียนมาก  ทรงธรรม 
              ทรงวินัย   ทรงมาติกา  ย่อมไม่บอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ   เมื่อภิกษุเหล่านั้น
              ล่วงลับไป พระสูตรย่อมขาดเค้ามูล ไม่มีหลัก  นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓   ย่อมเป็นไปเพื่อ
              ความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม
                         อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน   
              เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด ทอดธุระในทางวิเวก ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม  
              ที่ยังไม่ถึง  เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ  เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง  ประ-
              ชุมชนหลัง ย่อมถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง  ประชุมชนเหล่านั้นก็เป็นผู้มักมาก 
              มีความประพฤติย่อหย่อน   เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด   ทอดธุระในทางวิเวก  ไม่  
              ปรารภความเพียร   เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง  เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ   เพื่อทำให้
              แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง  นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔  ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อม
              สูญแห่งสัทธรรม
                          อีกประการหนึ่ง สงฆ์เป็นผู้แตกกัน   เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว   ย่อมมีการด่ากัน  
              และกัน  บริภาษกันและกัน  แช่งกันและกัน  ทอดทิ้งกันและกัน ในเหตุการณ์เช่นนั้น  
              คนผู้ไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส  และคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้วย่อมเหินห่าง  นี้เป็น
              ธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไป เพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม
                          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ นี้แล   ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน
              เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม”

                          “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ธรรม ๕ ประการนี้   ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น  ไม่
              ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
                          ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้   ย่อมเล่าเรียนพระสูตร   ทรงจำไว้ดี   ด้วยบท
              และพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี  แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี  ย่อมเป็นเนื้อความ
              ที่มีนัยดี   นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑  ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น  ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่ง
              สัทธรรม  
                          อีกประการหนึ่ง  ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่าง่าย  ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้  
              เป็นผู้ว่าง่ายเป็นผู้อดทน  รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ  นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไป
              เพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม   
                          อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพหูสูตเล่าเรียนมาก ทรงธรรม ทรงวินัย
              และทรงมาติกา ย่อมบอกแก่ผู้อื่นโดยเคารพ  เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป พระสูตร
              ย่อมไม่ขาดเค้ามูล มีหลักฐานอยู่    นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓   ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น
              ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม
                          อีกประการหนึ่ง  ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ  ย่อมไม่มักมาก ไม่ประพฤติย่อหย่อน   
              ทอดธุระในการล่วงละเมิด  เป็นหัวหน้าในทางวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่  
              ยังไม่ถึง   เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ   เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้
              เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม
                          อีกประการหนึ่ง  สงฆ์ย่อมเป็นผู้สมัครสมานกันดี  ชื่นชมต่อกัน  ไม่วิวาทกัน 
              มีอุเทศเป็นอย่างเดียวกัน    อยู่สบาย    ก็เมื่อสงฆ์สมัครสมานกันดี    ไม่มีการด่ากัน  
              และกัน     ไม่บริภาษกันและกัน    ไม่มีการแข่งขันกันและกัน   ไม่ทอดทิ้งกันและกัน  
              ในเหตุการณ์เช่นนั้น   คนผู้ไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส   และคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
              ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้น     นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕    ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น   ไม่ลบเลือน 
              เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม
                          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     ธรรม ๕ ประการนี้แล      ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น 
              ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม”
                                                จบตติยสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๖
                                               


มีผู้อ่านจำนวน : 4682 ครั้ง


บทความที่เกี่ยวข้อง

            มูลเหตุ ความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม (๑)
            มูลเหตุ ความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม (๒)
            มูลเหตุ ความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม (๓)
backbutton
gototop
back2home_style3 go2contentstore_style03
Bottom Tab Content

Who's Online

We have 3 guests and no members online