Text Size
Thursday, March 28, 2024
Top Tab Content

มูลเหตุแห่งความเสื่อม


มูลเหตุความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม (๑)

พระไตรปิฎกและ อรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม (เล่มสีน้ำเงิน)
เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ ๔๖๒  - ๔๖๖


                                   
ฐิติสูตร (ว่าด้วยการตั้งอยู่แห่งพระสัทธรรม)
              ท่านพระภัททะนั่ง  ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว 
              ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า
                         " ดูก่อนท่านอานนท์    อะไรหนอ   เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องทำให้
             พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน   ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วและ
             อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย  เครื่องทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อพระ
             ตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว "

             ท่านพระอานนท์กล่าวว่า  
                         " ดีละๆ  ท่านภัททะ   ท่านช่างคิด    ช่างเฉียบแหลม ช่างไต่ถาม
             เหมาะๆ    ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า     ดูก่อนท่านอานนท์  อะไรเป็นเหตุ
             เป็นปัจจัย  เครื่องทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน   ในเมื่อพระตถาคต
             เสด็จปรินิพพานแล้ว และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องทำให้พระสัทธรรม
             ตั้งอยู่ได้นาน  ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว

            พระภัททะกล่าวว่า  " อย่างนั้น  ท่านผู้มีอายุ "

             ท่านพระอานนท์กล่าว ว่า
                          " ดูก่อนท่านผู้มีอายุ  เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ  ไม่ได้กระทำให้มาก
             ซึ่งสติปัฏฐาน ๔  พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้นาน    ในเมื่อพระตถาคตเสด็จ
             ปรินิพพานแล้ว     และเพราะบุคคลเจริญ    กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน  ๔    
             พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน   ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว
                          สติปัฏฐาน  ๔  เป็นไฉน   ภิกษุในธรรมวินัยนี้   
                          ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่   มีความเพียร   มีสัมปชัญญะ 
              มีสติ    กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย.
                          ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ......   
                          ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ......    
                          ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่  มีความเพียร  มีสัมปชัญญะ
             มีสติ   กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย 
                          ดูก่อนท่านผู้มีอายุ  เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ   ไม่ได้กระทำให้มาก
             ซึ่งสติปัฏฐาน  ๔  เหล่านี้แล   พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้นาน   ในเมื่อพระ
             ตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว   และเพราะบุคคลได้เจริญ   ได้กระทำให้มาก
             ซึ่งสติปัฏฐาน  ๔  เหล่านี้แล    พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน      ในเมื่อพระ
             ตถาคตเสด็จปรินิพพาน แล้ว "
                                                   จบฐิติสูตรที่  ๒

                                    ปริหานสูตร (ว่าด้วยความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม)
                          สมัยหนึ่ง   ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะอยู่  ณ กุกกุฏาราม
              ใกล้เมืองปาฏลีบุตร   ครั้งนั้น ท่านพระภัททะออกจากที่เร้นในเวลาเย็นเข้า 
              ไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่    ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์   ครั้นผ่าน
              การปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
              ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า
                             " ดูก่อนท่านอานนท์   อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย   เครื่องทำให้
              พระสัทธรรมเสื่อม    อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย  เครื่องทำให้พระสัทธรรม
              ไม่เสื่อม "

               ท่านพระอานนท์กล่าวว่า  
                              " ดีละๆ ท่านภัททะ  ท่านช่างคิด    ช่างเฉียบแหลมช่างไต่ถาม
               เหมาะๆ   ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า   ดูก่อนอานนท์  อะไรหนอเป็นเหตุเป็น
               ปัจจัยเครื่องทำให้พระ สัทธรรมเสื่อม   อะไรหนอเป็น เหตุเป็นปัจจัยเครื่อง
               ทำให้พระสัทธรรมไม่เสื่อม "

               พระภัททะกล่าวว่า  " อย่างนั้น  ท่านผู้เจริญ "

               ท่านพระอานนท์กล่าว ว่า  
                              "ดูก่อนท่านผู้มีอายุ  เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ  ไม่ได้กระทำให้มาก
               ซึ่งสติปัฏฐาน  ๔  พระสัทธรรมจึงเสื่อม   และเพราะบุคคลได้เจริญได้กระทำ
               ให้มากซึ่งสติปัฏฐาน  ๔  พระสัทธรรมจึงไม่เสื่อม   สติปัฏฐาน  ๔ เป็นไฉน
               ภิกษุในธรรมวินัยนี้  
                           ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่   มีความเพียร   มีสัมปชัญญะ 
              มีสติ    กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย.
                           ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ......   
                           ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ......    
                           ย่อมพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่  มีความเพียร  มีสัมปชัญญะ
             มีสติ    กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย
                           ดูก่อนท่านผู้มี อายุ "
              
                         " เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ  ไม่ได้กระทำ ให้มากซึ่งสติปัฏฐาน  ๔
               เหล่านี้แล พระสัทธรรมจึงเสื่อม
                        เพราะบุคคลได้เจริญได้กระทำให้มากซึ่ง สติปัฏฐาน ๔ เหล่านั้นแล 
               พระสัทธรรมจึงไม่เสื่อม "             
                                             จบปริหานสูตรที่  ๓                               
                               
                                สุทธกสูตร (ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน  ๔)
                                " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  สติปัฏฐาน  ๔  เหล่านั้น
                                 สติปัฏฐาน ๔  เป็นไฉน   ภิกษุในธรรมวินัยนี้
                          ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่   มีความเพียร   มีสัมปชัญญะ   
              มีสติ  กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย
                          ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ......   
                          ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ......    
                          ย่อมพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่  มีความเพียร  มีสัมปชัญญะ
             มีสติ   กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย
                                 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  สติปัฏฐาน  ๔  เหล่านั้นแล "
                                            จบสุทธกสูตรที่  ๔

                                พราหมณสูตร (ว่าด้วยพระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน)
               ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้  :-
               สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน   อาราม
               ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี      ใกล้กรุงสาวัตถี.    ครั้งนั้น   พราหมณ์
               คนหนึ่งเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ    ได้ปราศรัยกะพระ
               ผู้มีพระภาค เจ้า   ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว   จึงนั่ง
               ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง   ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
                         " ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ     อะไรหนอ     เป็นเหตุเป็นปัจจัย
                เครื่องทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน  ในเมื่อพระตถาคตเสด็จ
                ปรินิพพานแล้ว   และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย  เครื่องทำให้พระ
                สัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคต เสด็จปรินิพพานแล้ว "
              
               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
                          " ดูก่อนพราหมณ์ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ  ไม่ได้กระทำให้มาก
               ซึ่งสติปัฏฐาน ๔  พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้   ไม่ได้เจริญ ไม่ได้กระทำ
               ให้มากซึ่งสติปัฏฐาน  ๔  พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้นานในเมื่อตถาคต 
               ปรินิพพานแล้ว  และเพราะบุคคลเจริญ  กระทำให้มากซึ่ง สติปัฏฐาน ๔
               พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน   ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว
                            สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน
                            ภิกษุในธรรมวินัยนี้  ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
               มีสัมปชัญญะ   มีสติ  กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย   ย่อมพิจารณา
               เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...   ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...   ย่อมพิจารณา
               เห็นธรรมในธรรมอยู่   มีความเพียร   มีสัมปชัญญะ  มีสติ   กำจัดอภิชฌา
               และโทมนัสโนโลกเสีย    
                            ดูก่อนพราหมณ์  เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ  ไม่ได้กระทำให้มากซึ่ง
               สติปัฏฐาน ๔ เหล่านั้นแล   พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้ไม่นาน  ในเมื่อตถาคต
               ปรินิพพานแล้ว
                           และเพราะบุคคลได้เจริญ  ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่า
               นี้แล   พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน   ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว
                            เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว  พราหมณ์นั้นได้กราบทูล
               พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า  ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ  ภาษิตของพระองค์ไพเราะ
               ยิ่งนัก   เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ   เปิดของที่ปิด   บอกทางแก่
               บุคคลผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักแลเห็นได้
               ฉะนั้น   ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
               จนตลอดชีวิต  ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป
                                                 จบพราหมณสูตรที่  ๕





มีผู้อ่านจำนวน : 3508 ครั้ง


บทความที่เกี่ยวข้อง

            มูลเหตุ ความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม (๑)
            มูลเหตุ ความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม (๒)
            มูลเหตุ ความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม (๓)
backbutton
gototop
back2home_style3 go2contentstore_style03
Bottom Tab Content

Who's Online

We have one guest and no members online